✓ Free Shipping
✓ Earn 500 Reward Points on Sign-Up
✓ 14-Day Returns
✓ Free Shipping      ✓ Earn 500 Reward Points on Sign-Up      ✓ 14-Day Returns      
เล่นตุ๊กตา-เสริมพัฒนาการ

ตุ๊กตากับของเล่นเสริมพัฒนาการ

ตุ๊กตากับของเล่นเสริมพัฒนาการ

‘การเล่นตุ๊กตาใครว่าเหมาะกับเด็กผู้หญิงอย่างเดียว เพราะสามารถช่วยพัฒนาทักษะและเสริมพัฒนาการได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเพศอะไรก็สามารถเล่นตุ๊กตาได้ การเล่นตามจินตนาการไปกับตุ๊กตาจะช่วยพัฒนาด้านทักษะสังคม จิตใจ รวมไปถึงการบ่มเพาะความรู้สึกเห็นอกเห็นใจในระหว่างเล่นได้ด้วย’

เล่น ‘ตุ๊กตา’ เสริมพัฒนาการได้อย่างไร

การที่เด็กเล่นตุ๊กตาหรือโมเดลหุ่นยนต์ หลาย ๆ ไม่ใช่เพียงเพราะเด็กชอบเล่นตามการ์ตูนที่ชอบดู ชอบอ่าน หรือคุ้นเคยจากที่พ่อแม่ผู้ปกครองพาไปเที่ยวเล่น แต่อันที่จริงแล้วเด็ก ๆ ชอบเล่นของเล่นประเภทนี้เพราะเขาสามารถสมมุติเรื่องราว บทบาทตัวละคร เลียนแบบการ์ตูนหรือเกมส์ที่เค้าชอบได้ด้วยตัวเอง


ซึ่งการที่เด็ก ๆ เล่นบทบาทสมมุติ ก็เหมือนเขาได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับเรื่องราวเหล่านั้นจึงบ่อยครั้งที่เด็ก ๆ ชอบเล่นคนเดียว หรือชวนกันเล่นเป็นกลุ่มตามบทบาทสมมุติที่เขาได้รับ ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมได้เป็นอย่างดี และยังได้เรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจในตัวตน ความคิด อารมณ์ของคนอื่น ซึ่งส่งผลดีกับเด็ก ๆ ในระยะยาว เพราะจะนำไปสู่ความเห็นอกเห็นใจ กลายเป็นนิสัยที่ติดตัวเด็กในอนาคตและยังต่อยอดการใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไม่รู้จบเมื่อเขานำของเล่นอื่น ๆ รอบตัวมาดัดแปลงและสวมบทบาทเช่นเดียวกับตุ๊กตา

เล่นตุ๊กตา เล่นแบบไหนดี?

หากมองแบบผิวเผินการเล่นตุ๊กตาอาจดูธรรมดา แต่หากลองใช้เวลาอยู่กับเด็ก ๆ นานขึ้น เราจะเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมการเล่นของเล่นประเภทนี้จึงดูสนุกเหนือจินตนาการที่พ่อแม่ผู้ปกครองอย่างเรา ๆ อาจไม่เข้าใจก็เป็นได้ เพราะเด็กจะออกแบบการเล่นด้วยตนเอง แต่ก็ยังมีอีกหลากหลายวิธีเล่นที่อยากให้พ่อแม่ผู้ปกครองไปลองปรับใช้กับเด็ก ๆ  อาจจะทำให้เขาได้รับประโยชน์จากการเล่นมากขึ้น

ชวนเล่นตุ๊กตาให้ได้ประโยชน์สูงสุด

จริง ๆ แล้วการเล่นตุ๊กตายังสามารถเล่นเพิ่มเติมความสนุกเข้าไปได้อีก ดังนี้


เล่นสนุกตามเซต - คือเล่นสนุกตามเนื้อเรื่องปกติที่เด็ก ๆ ชอบ ไม่ว่าจะมาจากการ์ตูนเอนิเมะหรือซีรีส์ การเล่นแบบนี้ก็ช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจกับบทบาทสมมุติที่สร้างขึ้นมา ทำให้เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และเรียนรู้ที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่นขณะเล่นได้เป็นอย่างดี


เล่นประกอบเรื่องเล่า-นิทาน - เพิ่มความซับซ้อนให้กับการเล่นอีกนิด ด้วยการกำหนดเรื่องเล่า เล่นประกอบนิทานเพื่อเสริมเรื่องราวให้สนุก สร้างจินตนาการและเติมความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก ๆ


เล่นผสมของเล่นอื่น - อีกหนึ่งวิธีการเล่นที่ช่วยขยายขอบเขตจินตนาการให้กับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี เมื่อจัดการรวมเซตของเล่นชิ้นโปรดเข้าด้วยกัน ผสมฟังก์ชันของเล่นต่าง ๆ เป็นเรื่องราวที่เขาชอบอย่างการเล่น รถไฟ ผสมกับฮีโร่ และวายร้าย ออกเป็นเรื่องราวที่เด็ก ๆ ได้หยิบของเล่นชิ้นที่ชอบมาใช้กับของเล่นอีกชิ้น ก็ช่วยให้ช่วงเวลานี้เพลิดเพลินและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์


เล่นเพื่อรู้จักตัวเอง - การหยิบจับตุ๊กตาของเล่นมาเล่นแต่ละครั้ง เด็ก ๆ จะได้ทำความรู้จักอวัยวะแต่ละส่วนโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะส่วนหัว แขน ลำตัว มือ นิ้ว ขา และเท้า แต่ละชิ้นส่วนเด็ก ๆ จะได้ทำความเข้าใจเเละเรียนรู้ไปพร้อมกัน


แต่ไม่ว่าจะเล่นแบบไหน การเข้าไปมีส่วนร่วมในช่วงเวลาเล่นกับสมาชิกในครอบครัวก็จะเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณค่าอย่างแน่นอน

เล่นตุ๊กตาเสริมพัฒนาการอะไรบ้าง

เชื่อว่าหลายครอบครัวพอจะเข้าใจบ้างแล้วว่าตุ๊กตาเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก ๆ ได้อย่างไร แต่ก็ยังมีคำถามว่าการเล่นของเล่นเสริมพัฒนาการเซตนี้จะช่วยพัฒนาทักษะอะไรได้อีกบ้างนอกจากการสื่อสาร มาดูไปพร้อมกันเลย

เสริมพัฒนาการ พัฒนาทักษะ

พัฒนาการเคลื่อนไหว - เสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก การจับ การถือ การขยับปรับเปลี่ยนท่าทางต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนชุดตุ๊กตาในระหว่างการเล่น ก็ช่วยเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กและการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี


เรียนรู้เรื่องความเห็นอกเห็นใจ -  อีกหนึ่งทักษะที่เด็ก ๆ ได้รับในระหว่างการเล่น ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเล่นของเล่นประเภทนี้คือ ฝึกความเข้าใจ ฝึกการดูแลผู้อื่น และฝึกให้เขารู้จักกับความเห็นอกเห็นใจ เพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมต่อไปในอนาคต อีกทั้งหากครอบครัวไหนมีแผนจะมีสมาชิกใหม่ในบ้านการฝึกให้เด็กเล่นตุ๊กตาก็เหมือนการฝึกให้เด็ก ๆ ดูแลน้องได้อีกด้วย


ฝึกภาษา การสื่อสารและการเข้าสังคม - การเล่นตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ก็เป็นอีกทักษะหนึ่งที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ เช่น การพูดคุยแลกเปลี่ยนไอเดียในการเล่น ทำให้เด็ก ๆ ได้เริ่มต้นพูดคุยสื่อสารในขณะเล่นและฝึกฝนคำศัพท์ระหว่างเล่นได้ด้วย

ตุ๊กตาแบบไหนเหมาะกับเด็ก

เชื่อว่าคุณพ่อ คุณแม่หรือผู้ปกครองคงพอจะมองเห็นข้อดีของการให้เด็กเล่นตุ๊กตา มาบ้างแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่หลาย ๆ คนไม่ควรมองข้ามคือการเลือกประเภทตุ๊กตาที่มีการเล่นแตกต่างกัน มาดูกันว่าควรจะเลือกแบบไหนให้เข้ากับเด็ก ๆ มากที่สุด


ตุ๊กตาหุ่นมือ - เป็นของเล่นที่ทำจากผ้าลักษณะคล้ายกับถุงมือ แล้วติดลวดลายหรือสีสันต่าง ๆ ลงไป ของเล่นประเภทนี้จัดว่าอยู่ในกลุ่มหุ่นประเภทหนึ่งที่หลายคนใช้เป็นสื่อการสอน การเล่น หรือการเล่านิทานประกอบเรื่องราว เด็ก ๆ จะได้เล่น พูดคุย มีปฏิสัมพันธ์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ เข้าใจสิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็วผ่านเรื่องราว รูปภาพหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อีกทั้งยังได้พูดคุยโต้ตอบผ่านหุ่นมืออีกด้วยของเล่นประเภทนี้เหมาะกับเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน เป็นต้นไป


ตุ๊กตาผ้า - เรียกว่าเป็นของเล่นที่คุ้นหน้าคุ้นตากับเด็ก ๆ ส่วนใหญ่ เพราะส่วนใหญ่เด็ก ๆ จะได้เล่น ได้สัมผัสตั้งแต่จำความได้ ถึงแม้ว่าผู้ใหญ่อย่างเราจะมองว่าตุ๊กตาผ้าจะเหมาะกับเด็กผู้หญิงมากกว่า แต่ความเป็นจริงไม่ว่าจะเพศไหนการเล่นตุ๊กตาก็สามารถเล่นได้ทั้งนั้น การเล่นของเล่นประเภทนี้สามารถเล่นได้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเล่นบทบาทสมมุติ เล่นประกอบเรื่องราว หรือเล่นเล่าเรื่องตามนิทานก็ได้เช่นกัน


ตุ๊กตาไม้ - เป็นอีกประเภทที่ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนเลือกให้เด็ก ไม่ว่าจะด้วยผิวสัมผัส สี ความปลอดภัย หรือปัจจัยอื่น ๆ แต่การได้ขยับแขนขา ไปจนถึงการมีกลไกเล็ก ๆ น้อย ๆ เพิ่มเข้าไป ก็ช่วยเพิ่มอรรถรสในการเล่นมากขึ้น หรืออยากจะนำไปเล่นผสมกับของเล่นชิ้นอื่นก็สามารถทำได้

ไม่ว่าเด็ก ๆ จะเลือกเล่นตุ๊กตาหรือไม่แต่เชื่อว่ามุมมองการเล่นตุ๊กตาของพ่อแม่ผู้ปกครองน่าจะเปลี่ยนไป เพราะการเสริมทักษะและพัฒนาการจากการเล่นของเล่นชนิดนี้ส่งผลในเชิงบวกที่เด็กทุกคนก็เล่นได้เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะเล่นของเล่นชนิดไหนสิ่งสำคัญที่สุดคงไม่พ้นการใช้เวลาเล่นร่วมกันกับเด็ก ๆ ให้มากที่สุด เพราะไม่เพียงแต่ช่วยให้การเล่นสนุกขึ้น ยังสร้างช่วงเวลาคุณภาพให้เกิดขึ้นได้อีกด้วย


อ้างอิง

Playing with dolls helps children talk about how others feel, says study2022. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.theguardian.com/society/2022/feb/06/playing-dolls-helps-children-talk-about-how-others-feel-study#:~:text=The%20research%20suggests%20that%20playing,theory%20of%20mind%20and%20empathy.

blog counter

Leave a comment

* Required fields

Please note: comments must be approved before they are published.