✓ Free Shipping
✓ Earn 500 Reward Points on Sign-Up
✓ 14-Day Returns
✓ Free Shipping      ✓ Earn 500 Reward Points on Sign-Up      ✓ 14-Day Returns      
How-to-observes-a-talented-kids

พ่อแม่สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็นเด็กเก่ง?

พ่อแม่สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็นเด็กเก่ง?

เมื่อลูกมีพรสวรรค์ฉายแววเก่ง ไม่ว่าจะตอนเล่นของเล่น ทำกิจกรรมกับพ่อแม่ผู้ปกครอง อย่างเช่น สามารถบอกโน้ตเพลงได้ทันทีเมื่อพ่อแม่เล่นดนตรีให้ฟัง หรือชอบตั้งคำถาม ชอบใช้ความคิด มีความสนใจอยากรู้อยากเห็น 

ซึ่งพฤติกรรมหรือการแสดงออกเหล่านี้ พ่อแม่มักจะไม่ทันสังเกต วันนี้เราเลยพามาจับสังเกต จำแนกพฤติกรรมในแต่ละด้านของเด็ก ๆ ว่าแต่ละด้านนั้นมีลักษณะอย่างไร เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้ไปลองสังเกตพฤติกรรมของเค้า เพื่อส่งเสริมความสามารถให้ดีขึ้นไปและเพิ่มศักยภาพตามความถนัดให้น้อง ๆ ได้อย่างสมวัย1

 How-to-observe-a-talented-kids

สนับสนุนเมื่อลูกฉายแววเก่ง ส่งเสริมพัฒนาการอย่างถูกต้อง

ส่งเสริมศักยภาพของน้อง ๆ ได้อย่างสมวัยเพียงแค่จัดกิจกรรมที่หลากหลายให้ลูกได้ลองเล่น เพื่อสังเกตความถนัดของน้อง ๆ ในแต่ละด้าน ซึ่งอาจจะใช้ของเล่นต่าง ๆ อย่างของเล่นไม้ ของเล่นเสริมพัฒนาการ เพื่อสังเกตแววอัจฉริยะและความสามารถพิเศษได้ง่ายขึ้น ซึ่งความสามารถพิเศษที่เด็กแต่ละคนมีสามารถจำแนกได้ดังนี้

ความถนัดด้านภาษา

น้องที่มีความถนัดด้านนี้จะชอบแสดงความคิดเห็น โดยใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสม เลือกใช้คำศัพท์ได้ดี ชอบอ่าน ชอบเขียนและชอบเล่าเรื่อง ชอบเล่นของเล่นประเภทเกมทายคำ ท่องคำกลอน หรือคำศัพท์ต่าง ๆ

เรียกว่าเป็นความถนัดที่พ่อแม่ผู้ปกครองก็สามารถช่วยส่งเสริมให้กับน้อง ๆ ได้ เช่น ปรึกษาคุณครูหรือกุมารแพทย์เพื่อเพิ่มทักษะและช่วยดึงศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่ หรือเสริมการเรียนรู้จากของเล่นเสริมพัฒนาการหรือของเล่นไม้ที่กระตุ้นการเรียนรู้ทางภาษาก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน

ความถนัดด้านการคิดเป็นเหตุเป็นผลและคณิตศาสตร์

น้อง ๆ จะชอบคิดคำนวณในใจอย่างรวดเร็ว ชอบคิดหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ จัดสิ่งของ ให้เป็นระเบียบ จำแนกสิ่งของเป็นกลุ่ม และมักชอบหาวิธีทดลอง เพื่อทดสอบข้อสังเกตและความคิดของคน ชอบเล่นเกมที่ต้องวางแผน วางกลยุทธ์และยังชอบตั้งคำถามลึกซึ้งกว่าวัยของเขา เช่น เวลาคืออะไร

ซึ่งแน่นอนว่าการเลือกของเล่น หรือของเล่นไม้ ประเภทที่ต้องวางแผน คิดกลยุทธ์ และการเล่นเป็นเหตุเป็นผล ก็ช่วยกระตุ้นศักยภาพกับความถนัดด้านนี้ได้เป็นอย่างดี

ความถนัดด้านมิติสัมพันธ์ รูปทรง และโครงสร้าง

เด็ก ๆ จะรับรู้ความสัมพันธ์ของการวางสิ่งของได้ดี มีความคิดจินตนาการ ชอบงานศิลปะ สามารถใช้จินตนาการสร้างสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายดาย ซึ่งหากส่งเสริมให้เล่นด้วยของเล่นไม้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสีสัน หรือการต่อบล็อกหรือโครงสร้างต่าง ๆ ก็ช่วยเสริมศักยภาพได้ดีและตรงความชอบของน้อง ๆ ด้วย

ความถนัดด้านดนตรี

น้อง ๆ จะชอบฟังเสียงเพลง จดจำท่วงทำนองและเสียงต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีการรับรู้ที่ไวต่อเสียงต่าง ๆ สนใจของเล่นที่มีเสียง ไม่ว่าจะฟังหรือเล่นก็ได้ทั้งนั้น ซึ่งของเล่นหรือของเล่นไม้ที่มีเสียง หรือพวกของเล่นเครื่องดนตรีต่าง ๆ จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการเสริมทักษะด้านดนตรีได้

ความถนัดด้านกีฬาและการเคลื่อนไหว

หากน้อง ๆ ชอบวิ่งเล่น เคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่ว ชอบออกกำลังกาย อยู่ไม่นิ่ง ชอบขยับเท้าหรือทำท่าเต้นไปตามจังหวะต่าง ๆ รวมถึงการปีนป่าย กระโดดโลดเต้นได้อย่างแม่นยำ ไปจนถึงมีทักษะด้านกีฬา การสังเกตความถนัดด้านนี้จะง่ายกว่าด้านอื่น ๆ เพราะการแสดงออกชัดเจน ทำให้พ่อแม่เลือกส่งเสริมความถนัดได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะพาไปเล่นกีฬา เลือกของเล่นที่เสริมทักษะด้านกีฬา การเคลื่อนไหว ก็ตรงความถนัดของน้อง ๆ

ความถนัดด้านเข้าสังคมและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

หากน้อง ๆ ชอบมีปฏิสัมพันธ์ พูดคุยโต้ตอบได้เป็นธรรมชาติและเหมาะสม รับรู้และเข้าใจผู้อื่นได้ดี เขาจะชอบพูดคุย ชอบรับฟัง ชอบทำงานกลุ่มและมักเป็นหัวหน้ากลุ่ม การเลือกของเล่น ของฝากเพื่อลูกที่ส่งเสริมทักษะเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นของเล่นบทบาทสมมุติหรือ ของเล่นไม้ที่เล่นได้เป็นกลุ่มก็ช่วยเสริมความถนัดด้านนี้ได้ดีขึ้น

เชื่อมั่นในตนเองและความเป็นตัวของตัวเอง

น้อง ๆ จะดูเหมือนมีพลังพิเศษในตัวเอง รู้ว่าตัวเองคือใคร ต้องการสิ่งใดในชีวิต มุ่งมั่นทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมายของตัวเอง ซึ่งความถนัดด้านนี้ค่อนข้างจะสังเกตยาก ซึ่งจำเป็นต้องใกล้ชิดและคอยสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ หากไม่มั่นใจควรปรึกษากุมารแพทย์ เพื่อสนับสนุนและเสริมพัฒนาการให้ตรงกับน้อง ก็เป็นทางเลือกที่ดี

ทั้งหมดก็เป็นเพียงข้อสังเกตและพฤติกรรมเบื้องต้นที่น้อง ๆ แสดงออกถึงแววเก่ง แววฉลาด แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะเป็นไปได้ยากที่จะบอกว่าเด็กเก่งหรือไม่เก่งก่อนอายุ 2 ปี และมีถึง 3-5% ที่ฉายแววความเก่งเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่อาจจะต้องใช้เวลาสังเกตและปรึกษากุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม ก็จะช่วยเสริมพัฒนาการและความสามารถของน้อง ๆ ได้ดีขึ้นได้เช่นกัน

อ้างอิง

1สุชาดา ศรีทิพยวรรณ และคณะ, เลี้ยงลูกอย่างไรให้ ‘เก่ง ดี มีสุข’, หน้า 4-6

counter for blog

Leave a comment

* Required fields

Please note: comments must be approved before they are published.