จากงานวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ในปี 2030 จำนวนประชากร 1 ใน 6 คนของประชากรทั่วโลกจะมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และด้วยอายุประชากรที่มากขึ้น ก็จะเกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมาจนอาจกลายเป็นปัญหาในสังคม นั่นคือความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมและการสูญเสียทักษะทางสมองสำคัญ ๆ เช่น การประสานงานของอวัยวะ ความจำ และการรับรู้ทางสังคม ภาวะเหล่านี้ไม่เพียงส่งผลกระทบทางร่างกายและจิตใจในทางลบ แต่ยังส่งผลกระทบเชิงลบต่อเพื่อนและครอบครัวของผู้ที่ประสบปัญหาเหล่านี้อีกด้วย
การวิจัย* ได้เผยให้เห็นว่าการบำบัดด้วยกิจกรรมสามารถช่วยกระตุ้นและฝึกฝนความสามารถทางด้าน การรับรู้ที่เสื่อมถอยในผู้สูงอายุได้ การเล่นอย่างเหมาะสมสามารถสร้างความรู้สึกของการมีส่วนร่วม ในการเล่นหรือเล่นกับความท้าทาย ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกถึงอารมณ์เชิงบวก เช่น ความสนุก ความภูมิใจ และความขบขัน และยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางจิตใจกับครอบครัว ส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถ รับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงขาดอุปกรณ์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุที่สามารถ
- ● กระตุ้นและฝึกฝนความสามารถทางสมองเฉพาะด้าน
- ● สร้างความรู้สึกสนุกและอารมณ์เชิงบวก
- ● เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางจิตใจกับสมาชิกในครอบครัว
ด้วยภารกิจในการทำให้โลกดีขึ้นผ่านการเล่นและการเห็นผลกระทบของสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น แปลนทอยส์จึงเริ่มวิจัยและออกแบบชุดการเล่นในปี 2563 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในปี 2564 แปลนทอยส์ร่วมมือกับ MTEC* และสวทช.** เพื่อเริ่มโครงการ Better Aging โดยมี ดร.สิทธา สุขกสิ ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ในการออกแบบจาก MIT*** และประสบการณ์มากมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ การทำงานร่วมกันในครั้งนี้ เราจึงมุ่งเน้นไปที่ 3 ส่วนหลัก ได้แก่
- ● การกระตุ้นและฝึกฝนทักษะการรับรู้เฉพาะด้าน
- ● ความรู้สึกร่วมในการเล่น
- ● สร้างอารมณ์เชิงบวก
ในระหว่างกระบวนการออกแบบ เราได้นำทฤษฎีและหลักการที่ตระหนักถึงความต้องการของผู้สูงอายุมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการเล่น ชุดการเล่นที่เราออกแบบจึงมีเป้าหมายหลักดังนี้
- ● การกระตุ้นประสาทสัมผัสเพื่อลดความกระวนกระวาย
- ● กระตุ้นความจำ และชะลอการเสื่อมถอยของสมองจากภาวะสมองเสื่อม
- ● การบำบัดด้วยกิจกรรมเพื่อกระตุ้น ฝึกฝน และฟื้นฟูความสามารถทางด้านการรับรู้
- ● ความรู้สึกในการเล่น
- ● การพัฒนาตนเอง รวมถึงความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และการตัดสินใจด้วยตนเอง
- ● การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ตลอดทั้งโครงการ ทีมนักออกแบบของเราที่ทำงานร่วมกับทีมวิจัยได้สร้างชุดการเล่นภายใต้แนวคิดดังกล่าว จำนวน 60 ชุด และเราได้ทดสอบ พัฒนา และกลั่นกรองออกมาเป็นชุดการเล่นทั้งสิ้น 8 ชุดในคอลเลกชั่น PlanToys Better Aging
* Hoppes S, Wilcox T, Graham G. Meanings of play for older adults. Physical & Occupational Therapy in Geriatrics.
2001 Jan 1;18(3):57-68.
** MTEC - Thailand National Metal and Materials Technology Center
*** NSTDA - The National Science and Technology Development Agency
**** MIT - Massachusetts Institute of Technology