ส่งฟรี ทุกออเดอร์
สมัครสมาชิกรับ 500 แต้ม แลกสิทธิ์จุใจ
เปลี่ยนใจ คืนสินค้าใน 14 วัน
ส่งฟรี ทุกออเดอร์       สมัครสมาชิกรับ 500 แต้ม แลกสิทธิ์จุใจ       เปลี่ยนใจ คืนสินค้าใน 14 วัน      
Improve-EF-with-wooden-toys

พัฒนาทักษะ EF ด้วยของเล่นเสริมพัฒนาการ

พัฒนาทักษะ EF ด้วยของเล่นเสริมพัฒนาการ

เสริมทักษะ ถ้า ได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยอนุบาล เพียงแค่ชวนเล่น ชวนทำกิจกรรม ช่วยฝึกฝนทักษะ ถ้า ที่สำคัญทั้ง 9 หัวข้อ เพื่อให้สมองส่วนหน้าพัฒนาได้ดีขึ้น

ทักษะ ถ้า สำคัญต่อพัฒนาการเด็กอย่างไร


ถ้า ย่อมาจาก 'หน้าที่ผู้บริหาร' เป็นทักษะบริหารจัดการตนเองขั้นสูง ซึ่งเป็นความสามารถของสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex : PFC) เป็นทักษะที่จำเป็นในการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมายในชีวิตประจำวัน เพื่อจัดการอารมณ์ ความคิด และการกระทำเพื่อให้ตอบโจทย์สิ่งที่วางไว้ในแต่ละวัน


พัฒนาการทางสมองส่วนนี้เริ่มตั้งแต่เกิด ไปจนอายุ 3-5 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีการเจริญเติบโตสูงสุด ซึ่งเป็นช่วงทีสมองของเด็กกำลังสร้างเส้นใยประสาทภายในสมอง การฝึกทักษะ ถ้า ตั้งแต่เด็ก ทำให้เส้นใยประสาทและโครงสร้างสมองส่วนนี้แข็งแรงขึ้น เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ มีทักษะบริหารจัดการชีวิตไปสู่ความสำเร็จได้ ทำให้การพัฒนาทักษะส่วนนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

Improve-EF-with-wooden-toys

ทักษะ ถ้า 9 ด้านที่สำคัญ 


ทักษะ ถ้า ทั้ง 9 ด้าน สามารถเสริมพัฒนาการได้ด้วยการฝึกฝน โดยสมองส่วนหน้านี้ไม่ได้ทำงานเพียงส่วนเดียว แต่ทำงานประสานกันระหว่างสมองส่วนต่าง ๆ ช่วยให้เด็ก ๆ สามารถ ‘กำกับ’ ‘ดูแล’ ควบคุมความคิดและความรู้สึกไปสู่ ‘เป้าหมาย’ ที่ตั้งไว้ได้ หากเด็ก ๆ มีทักษะนี้ ก็จะช่วยให้เดินไปตามเป้าหมายที่ตั้งใจเอาไว้ได้ โดยทักษะ 9 ด้านที่สำคัญมีดังนี้


1. ความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)

เป็นความจำที่เด็กสามารถดึงข้อมูลหรือประมวลผลมาใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ


สามารถฝึกได้ดังนี้

  • ชวนเล่นหาของ ชวนร้องเพลง ให้เด็กฝึกทวนเพื่อฝึกความจำ

  • สนับสนุนให้เด็กเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในแต่ละวันหรือเล่านิทานจากความจำ

  • ช่วยสรุปสิ่งที่เด็กต้องทำมีกี่อย่าง เพื่อให้จำง่ายขึ้น

2. การยั้งคิด ไตร่ตรอง (Inhibitory Control)

การคิดก่อนลงมือทำ การไตร่ตรอง สามารถควบคุมและยับยั้งตนเองให้จดจ่อกับสิ่งสำคัญและจำเป็นได้


สามารถฝึกได้ดังนี้

  • ชวนเด็กนับ 1-10 ในใจ หรือสูดหายใจลึก ๆ

3.การยืดหยุ่นทางความคิด (Shifting/Cognitive Flexibility)

การปรับเปลี่ยนความคิด รู้จักพลิกแพลงและปรับตัว เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ


สามารถฝึกได้ดังนี้

  • ชวนให้เด็กได้ใช้ความคิดอย่างอิสระผ่านการเล่นแบบปลายเปิด

4.การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)

การรับรู้บอกอารมณ์ตนเอง ควบคุมอารมณ์ตนเองให้แสดงออกอย่างเหมาะสม จัดการอารมณ์ตนเองได้


สามารถฝึกได้ดังนี้

  • ฝึกให้เด็กรู้จักผ่อนคลายไม่ว่าจะเป็นการกอด ลูบหลัง และใช้คำพูดที่ดี

5.จดจ่อใส่ใจ (Focus/Attention)

การจดจ่อกับสิ่งที่ทำยาวนานและต่อเนื่องโดยไม่วอกแวกและเสียสมาธิ รู้จักการทำงานเสร็จเป็นอย่าง ๆ


สามารถฝึกได้ดังนี้

  • ฝึกให้เด็กจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ภายในเวลาที่กำหนด

6.ติดตาม-ประเมินตนเอง (Self-Monitoring)

สามารถทบทวน ประเมินตนเอง รู้ข้อดี ข้อเสียของตัวเอง ปรับปรุงข้อดี ข้อด้อยนั้นเพื่อมาแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้นได้


สามารถฝึกได้ดังนี้

  • ชวนให้เด็กติดตามสิ่งที่สนใจและมาบอกเล่าให้ฟัง

7. ริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)

การเริ่มลงมือทำกิจกรรมใด ๆ ในทันทีให้สำเร็จด้วยตนเอง เช่น เด็กริเริ่มอยากทำการ์ดสคส. การ์ดวันคริสต์มาสให้กับเพื่อน หรืออยากต่อบล็อกให้สำเร็จตามที่ต้องการ เป็นต้น


8. วางแผนและจัดระเบียบดำเนินการ (Planning & Organizing)

วางแผนจัดการตนเองเป็นขั้นเป็นตอนให้รอบคอบก่อนลงมือทำ เช่น จัดลำดับ จัดหมวดหมู่สิ่งต่าง ๆ ได้


9. มุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)

ไม่ล้มเลิกเมื่อเจออุปสรรค พยายามเรียนรู้และปรับปรุงวิธีทำงานให้ผ่านพ้นไปได้


อย่างไรก็ตามทักษะ EF 9 ด้านที่สำคัญสามารถพัฒนาและปรับปรุงได้หากครอบครัวเข้าใจ สังเกต และส่งเสริมการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมการเล่นที่หลากหลายภายใต้สภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เด็ก ๆ เกิดการเรียนรู้ตามวัยของเด็กได้อย่างอิสระนั่นเอง

Improve-EF-with-wooden-toys

วอกแวก เสียสมาธิ หลงลืมง่าย จุดสังเกตเพื่อเริ่มพัฒนาทักษะ EF 


หากเด็ก ๆ วอกแวกง่าย มีปัญหาการควบคุมอารมณ์ตนเอง ขาดความยับยั้งชั่งใจ มีปัญหากับการปรับตัวเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งใหม่ มีปัญหาการควบคุมอารมณ์และการแสดงออก ทำงานไม่เป็นขั้นตอน ก็อาจเป็นสัญญาณว่าเด็ก ๆ อาจมีปัญหา EF ด้านใด ด้านหนึ่งหรือหลายด้านรวมกัน


ซึ่งการที่จะพัฒนาทักษะด้านนี้นั้น นอกจากปรึกษากุมารแพทย์หรือนักสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อปรับปรุงและเสริมพัฒนาการด้านนั้น ๆ ได้ตรงจุดมากขึ้น ก็ยังสามารถใช้กิจกรรมง่าย ๆ อย่างการฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง ฝึกทำงานบ้าน หรือชวนเด็ก ๆ เล่น รวมถึงการเล่นของเล่นต่าง ๆ เข้าไปด้วยก็ช่วยพัฒนาทักษะนี้ได้ดีขึ้น อีกทั้งหากอยากเสริมพัฒนาการไปพร้อมกับพัฒนาทักษะ EF ก็อาจเลือกเล่นของเล่นเสริมพัฒนาการเข้าไปด้วย ก็เป็นการพัฒนาทักษะ 2 ด้านไป พร้อม ๆ กันได้ด้วย

Improve-EF-with-wooden-toys

เสริมทักษะ EF ด้วยการเล่นและของเล่นเสริมพัฒนาการ 


เพียงแค่ชวนเด็ก ๆ เล่น ก็ช่วยพัฒนาทักษะ EF ได้แล้ว นอกจากกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างงานบ้านง่าย ๆ ที่ช่วยให้เด็ก ๆ พัฒนาทักษะแต่ละด้านไปด้วยแล้ว การเล่นก็เป็นอีกทางเลือกให้เด็ก ๆ สนุกและพัฒนาทักษะนี้ไปในตัวด้วยนั่นเอง ซึ่งลักษะณะการเล่นที่สัมพันธ์กับการพัฒนาสมองมีดังนี้

  1. การเล่นกับร่างกายตนเอง (Unoccupied Play)
    ช่วงเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน เป็นช่วงที่เด็ก ๆ มักชอบเคลื่อนไหวร่างกายของตน (แขน ขา มือ นิ้วเท้า) และเริ่มตอบสนองโดยการเคลื่อนไหวร่างกายของตนเองเมื่อคนในครอบครัวสื่อสารและสัมผัสกับเขาหรืออาจใช้ตัวช่วยด้วยของเล่นเสริมพัฒนาการ ก็จะทำให้การเล่นสนุกมากขึ้นและยังได้เสริมสร้างพัฒนาการด้านอื่นเข้าไปด้วยนั่นเอง
  2. การเล่นตามลำพัง (Solitary Play)

    เป็นการเล่นในช่วงแรกเกิดจนถึง 2 ปี เด็กช่วงวัยนี้จะชื่นชอบการเล่นคนเดียวมาก แต่ก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการเล่นของเขาได้เช่นกัน เช่น ยื่น หยิบสิ่งของ พูดคุย หยอกล้อนอกจากช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ ยังช่วยในการพัฒนาทักษะทางภาษาได้เป็นอย่างดี
  3. การเล่นแบบสังเกตการณ์ (Spectator/Onlooker Behavior)
    เด็กวัย 2 ปีขึ้นไป จะเรียนรู้และให้ความสำคัญกับสิ่งรอบตัว การกระตุ้นให้เด็ก ๆ เข้าไปร่วมเล่นกิจกรรมกับเด็กคนอื่น หรือเข้าไปมีส่วนร่วมจะช่วยพัฒนาด้านสังคมและอารมณ์ได้เป็นอย่างดี
  4. การเล่นแบบต่างคนต่างเล่น (Parallel Play)
    เป็นการเล่นของเล่นอย่างอิสระของเด็กที่อายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป หลังจากที่สังเกตการเล่นของเด็กคนอื่นแล้ว และนำกระบวนการการเล่นมาเล่นเองตามลำพัง อย่างการที่เด็ก ๆ สังเกตการเล่นก่อปราสาททรายจากเด็กคนอื่น แล้วนำกระบวนการมาเล่นเอง เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถสอดแทรกความรู้ การแบ่งปัน และการแบ่งเวลาในระหว่างการเล่นได้อีกด้วย
  5. การเล่นร่วมกับคนอื่น (Associative Play)
    เป็นการเล่นในช่วงอายุ 3-4 ขวบ โดยเด็ก ๆ มักจะเล่นด้วยของเล่นชิ้นเดียว หรือคนละชิ้นแล้วมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น โดยเล่นเป็นกลุ่มเล็ก ๆ 2-3 คน เด็ก ๆ จะได้ฝึกการแบ่งปัน การแก้ปัญหา และการพัฒนาทางภาษา

  6. การเล่นแบบร่วมมือกัน (Cooperative Play)
    เป็นการเล่นในช่วงวัย 4 ขวบ เพื่อสร้างความเพลิดเพลินและเล่นร่วมกับคนอื่น เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้การแพ้ชนะ การแบ่งปันและการให้อภัย นอกจากนี้ยังเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ ร่างกาย สังคมและสติปัญญา

นอกจากวิธีการเล่นแล้ว การเพิ่มของเล่นเสริมพัฒนาการระหว่างการเล่นในแบบต่าง ๆ ก็จะช่วยเสริมพัฒนาการได้ตามวัย ทำให้เด็กได้ฝึกทักษะที่สำคัญตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัย ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม-จิตใจได้ รวมถึงทักษะ EF ที่สำคัญทั้ง 9 ด้านไปพร้อม ๆ กันด้วย


อ้างอิง

  1. “คู่มือเล่นเปลี่ยนโลก.” 2563. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา https://dopah.anamai.moph.go.th/web-upload/8x6b2a6a0c1fbe85a9c274e6419fdd6071/202203/m_magazine/24466/3603/file_download/89dd292e432724d6ab1d7cee606f8893.pdf (กุมภาพันธ์ 2563)

  2. “ฝึกทักษะสมอง EF ผ่านการเก็บของ.” 2565. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.thaipbskids.com/contents/62904ab45319f687ae656947 (27 มิถุนายน 2565)

  3. “บทความเรื่อง Executive functions.” 2563.[ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา

counter for blog

แสดงความคิดเห็น

*ช่องที่ต้องกรอก

โปรดทราบ: ความเห็นจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะถูกเผยแพร่