How-to-improve-kids-experiences

เล่นสนุก ด้วยการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก

เล่นสนุก ด้วยการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก

การเล่นสนุกไม่ว่าจะสนุกกับของเล่นไม้ หรือเล่นกับพ่อแม่ล้วนเสริมสร้างพัฒนาการของลูก ๆ ได้ การให้เด็ก ๆ เติบโตอย่างมีคุณภาพโดยได้รับการพัฒนาที่เหมาะสมกับช่วงวัยเป็นสิ่งสำคัญ

การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็ก ๆ จึงเป็นอีกเรื่องที่ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ของน้อง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น วันนี้แปลนทอยส์มีคำแนะนำดี ๆ ในการสร้างประสบการณ์การการเรียนรู้ให้กับเด็ก1 เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เหมาะสมกับวัย เอามาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคน ตามมาดูกันเลย

How-to-improve-kids-experiences

พื้นฐานคือความรัก และความใส่ใจ

 

ก่อนที่จะจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ การเริ่มต้นด้วยการใส่ใจและให้ความรักจากพ่อแม่ผู้ปกครอง จึงเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกในกาส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก

หากได้รับความใส่ใจและความรักที่เพียงพอเป็นพื้นฐานแล้ว เด็กจะสามารถต่อยอดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นได้จากการเล่น ไม่ว่าจะเล่น ของเล่นไม้ หรือของเล่นเสริมพัฒนาการอื่น ๆ ก็สามารถช่วยสร้างพื้นฐานให้การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ต่อไปในอนาคตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

How-to-improve-kids-experiences

การรับกลิ่นและการรับรส

สิ่งแรกที่ทารกควรพัฒนาเป็นลำดับแรก ๆ คือการรับกลิ่นและการรับรส ด้วยประสาทรับกลิ่นที่ค่อนข้างไว เช่น เด็กทารกได้กลิ่นน้ำนมของแม่ หรือความคุ้นชินกลิ่นกายของคุณพ่อ หากได้ใกล้ชิดกันบ่อย ๆ หรือหากได้กลิ่นฉุนหรือไม่ชอบกลิ่นไหนขึ้นมา ทารกก็จะเบือนหน้าหนีออกจากกลิ่นนั้น ๆ ได้ตั้งแต่สัปดาห์แรก พ่อแม่ผู้ปกครองควรเลือกใช้กลิ่นที่เหมาะสมและคอยสังเกตพฤติกรรมของทารกก็จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ในลำดับต่อไปได้ดียิ่งขึ้น

การมองเห็น

การให้เด็ก ๆ ได้รับประสบการณ์การเล่นที่เสริมด้านการมองเห็นก็เป็นอีกด้านที่สำคัญ อาจจะใช้ของเล่นไม้ ของเล่นเสริมพัฒนาการ หรือของใช้ในบ้านที่มีสีสันดึงดูดความสนใจในการมองเห็นมาเล่นกับลูก จะช่วยฝึกการใช้สายตามองไปรอบ ๆ เพราะธรรมชาติของทารกตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป ชอบมอง ชอบสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอยู่แล้ว ที่สำคัญการที่คุณพ่อคุณแม่ขยับใบหน้าเข้าใกล้ประมาณ 1 ฟุต จะกระตุ้นการมองเห็นของลูกได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันได้มากขึ้นด้วย

การใช้กล้ามเนื้อ

การพัฒนากล้ามเนื้อ ด้วยของเล่นไม้และของเล่นเสริมพัฒนาการเป็นอีกวิธีที่ควรทำ รวมถึงการที่พ่อแม่จับมือลูกทำท่าทางอย่างนุ่มนวล หรือการจั๊กจี๋ฝ่าเท้า ในขณะนอนเล่น ก็เป็นอีกเทคนิคที่ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อได้มากขึ้น

เหตุและผล

การให้เด็กได้เรียนรู้เหตุและผลจากการเล่น เป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี โดยอาจจะเริ่มจาก ของเล่นไม้ ที่มีวิธีการเล่นง่าย ๆ เช่น ให้เขย่ากระดิ่ง ก็จะมีเสียงออกมา เอามือปัดโมบาย ก็จะเกิดการหมุนไปมา การที่เด็กได้เรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างง่าย ๆ จะช่วยให้เพิ่มการพัฒนาและการตอบสนองได้ดี กระตุ้นให้ความอยากรู้อยากเห็น อยากขยับร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้สนุกกับการเรียนรู้มากขึ้น

ลักษณะ-คุณสมบัติต่าง ๆ

การฝึกให้น้อง ๆ เปรียบเทียบคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น การใช้ของเล่นไม้ที่เสริมเนื้อผ้าเข้าไป กับของเล่นไม้ที่พื้นผิวขรุขระ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เปรียบเทียบจากการสัมผัสด้วยตัวเอง จะช่วยให้เสริมสร้างการเรียนรู้ได้ดี อีกทั้งยังสามารถนำมาเล่นประกอบการพูดคุยได้ เช่น การเปรียบเทียบรูปทรงกลม กับสี่เหลี่ยม และใช้การกลิ้งเพื่อบอกถึงความแตกต่าง ก็เป็นวิธีที่ง่ายและกระตุ้นการเรียนรู้ได้ดีเช่นกัน

แยกแยะลักษณะเฉพาะ

การาแยกแยะลักษณะเฉพาะไปพร้อมกับการสอนคำศัพท์ โดยเฉพาะในเด็กวัย 10 เดือนเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะเด็กวัยนี้จะเริ่มมีความเข้าใจในการแยกแยะลักษณะเฉพาะบางอย่างได้ เช่น แมวจะร้องเหมียว หมาจะร้องโฮ่ง แมวตัวเล็กกว่าหมา เป็นต้น รวมถึงการเลือกของเล่นไม้มาเล่นพร้อมกับทำเสียงหรือบอกคำศัพท์ต่าง ๆ ก็จะช่วยให้เข้าใจคอนเซ็ปท์ของการแยกแยะสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้นและยังได้เรียนรู้คำศัพท์เพิ่มเติมอีกด้วย

นอกจากการสร้างประสบการณ์การเล่นให้เด็ก ๆ ได้สนุกแล้ว วิธีการเล่นและการเรียนรู้ต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถช่วยได้ด้วยการดึงสิ่งรอบตัวมาเล่นสนุกได้ เช่น การเล่านิทานหรือพูดคุยด้วยเสียงสูงต่ำ พูดช้า ๆ พูดชัด ๆ และให้หน้าอยู่ห่างลูกประมาณ 8-10 นิ้ว เมื่อชวนคุยบ่อย ๆ พร้อมกับทำน้ำเสียงให้น่าสนใจ ก็จะพบว่าเด็กวัยนี้จะพยายามสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่กลับมา ไม่ว่าจะทำปากเปิด ๆ ปิด ๆ หรือแลบลิ้นออกมาเหมือนกับการพูดนั่นเอง

รวมถึงสอดแทรกกลวิธีในการเล่น เช่น การใช้เสียงใหญ่และเสียงเล็กเพื่อบอกขนาดวัตถุสิ่งของชิ้นเล็ก ก็จะใช้เสียงเบา หรือการใช้เสียงใหญ่และดังเมื่อพูดถึงของชิ้นใหญ่รวมถึงการบอกว่า ‘เปียก’ ก็จับมือไปรองน้ำแล้วบอกว่า ‘เปียก’ หรือ ‘น้ำเปียกมือ’ เป็นต้น การแสดงท่าทางสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ นอกจากเป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ได้แล้ว ที่สำคัญหากทำด้วยความรักและความเอาใจใส่อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้น้อง ๆ เติบโตอย่างเต็มศักยภาพได้นั่นเอง

อ้างอิง 1สุชาดา ศรีทิพยวรรณ และคณะ, เลี้ยงลูกอย่างไรให้ ‘เก่ง ดี มีสุข’, หน้า 10-15.

blog counter

แสดงความคิดเห็น

*ช่องที่ต้องกรอก

โปรดทราบ: ความเห็นจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะถูกเผยแพร่