ส่งฟรี ทุกออเดอร์
สมัครสมาชิกรับ 500 แต้ม แลกสิทธิ์จุใจ
เปลี่ยนใจ คืนสินค้าใน 14 วัน
ส่งฟรี ทุกออเดอร์       สมัครสมาชิกรับ 500 แต้ม แลกสิทธิ์จุใจ       เปลี่ยนใจ คืนสินค้าใน 14 วัน      
เล่นจ๊ะเอ๋-เสริมพัฒนาการลูก

พักจากของเล่น ชวนเล่น 'จ๊ะเอ๋' ส่งเสริมพัฒนาการลูก

พักจากของเล่น ชวนเล่น 'จ๊ะเอ๋' ส่งเสริมพัฒนาการลูก

การเล่นจ๊ะเอ๋ ช่วยให้เด็ก ๆ เริ่มคุ้ยเคยกับทักษะการสื่อสาร เพราะการหัวเราะเป็นทักษะการสื่อสารเริ่มต้นในการเรียนรู้ เพราะเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ว่าหากหัวเราะจะได้อะไรจากคนรอบตัวกลับมา

กลไกสำคัญในการเล่นจีะเอ๋ คือ ‘Surprise and Expectation’ การเล่นแบบนี้จะเป็นการรักษาสมดุลระหว่างความแปลกใจและความคาดหวัง เด็ก ๆ จะเรียนรู้ว่าพ่อแม่จะหายไปแบบชั่วคราว และปรากฏขึ้นตามที่เด็กคาดหวังไว้อย่างถูกต้อง จึงเกิดทั้งความแปลกใจและความคาดหวังขณะเล่นนั่นเอง

เด็กหัวเราะจากการเล่นจ๊ะเอ๋ จะช่วยบริหารหูชั้นในและปอดไปพร้อม ๆ กัน อีกทั้งเด็ก ๆ จะจับสังเกตจากริมฝีปากได้ว่าเสียงต่าง ๆ เกิดขึ้นมาได้เพราะการขยับริมฝีปากนั่นเอง

‘จ๊ะเอ๋’ สองคำ เป็นของเล่นเสริมพัฒนาการได้


หากมองว่าของเล่นที่เด็ก ๆ เล่นอยู่อาจจะทำให้เด็ก ๆ เบื่อได้ หรือผู้ปกครองบางครอบครัวยังกังวลว่าเด็กติดของเล่นชิ้นเดียว ชนิดเดียว ติดจนเป็นของเล่นชิ้นสำคัญเล่นไม่ยอมวาง จนพ่อแม่ผู้ปกครองบางครอบครัว อยากลองชวนเด็ก ๆ ทำกิจกรรมอื่น ๆ ดูบ้าง ไม่ว่าจะเล่านิทาน พาไปเดินเล่น ร้องเพลง ฯลฯ แต่ยังมีอีกกิจกรรมที่อยากแนะนำก็คือ การเล่น ‘จ๊ะเอ๋’ ซึ่งการเล่นกิจกรรมนี้หลาย ๆ ครอบครัวล้วนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จนบางครั้งก็มองข้ามประโยชน์ของการเล่นแบบนี้ไปโดยไม่คาดคิด


ด้วยการเล่นจ๊ะเอ๋ ดูจะเป็นการเล่นที่ธรรมดาเอามาก ๆ สำหรับหลาย ๆ ครอบครัว ทำให้ไม่ทันได้ฉุกคิดหรือกลับไปโฟกัสที่กิจกรรมอื่นแทน จริง ๆ แล้วการเล่นจ๊ะเอ๋ได้ประโยชน์ต่อการเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก ๆ มากมาย และไม่ใช่ได้ประโยชน์แค่กับเด็ก ๆ เท่านั้น ยังส่งผลต่อพ่อแม่และครอบครัวอีกด้วย ซึ่งข้อดีของการเล่นกิจกรรมนี้จะมีอะไรบ้าง จะชวนให้เด็ก ๆ เล่นอย่างไรถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด และส่งเสริมพัฒนาการต่าง ๆ ได้อย่างไร ไปสำรวจพร้อม ๆ กันเลย

เล่นจ๊ะเอ๋-เสริมพัฒนาการลูก

วางของเล่น ชวนเล่นจ๊ะเอ๋ 


บางครั้ง บางคราวการวางของเล่นลงบ้าง แล้วลองเปลี่ยนมาทำกิจกรรมอื่นอย่างร้องเพลง เล่านิทาน อ่านหนังสือ หรือชวนลูกคุยก็เป็นการเพิ่มสายใย เพิ่มความผูกพันธ์ในครอบครัวได้ดี ทำให้บางครั้งการชวนให้เด็ก ๆ เล่นกิจกรรมอื่น ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก ๆ หรือสร้างพฤติกรรม เสริมประสบการณ์และการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบให้กับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี


การเล่นจ๊ะเอ๋ให้ได้ผลดีนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคืออายุของเด็ก ซึ่งเด็กจะเริ่มมีทักษะ Object Permanence หรือการรับรู้ว่าวัตถุชิ้นนั้นมีอยู่จริง โดยทักษะเหล่านี้จะมีเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อมีอายุ 6-8 เดือน ขึ้นไป และสามารถเล่นได้จนถึงอายุ 2 ขวบได้เลย


อย่างไรก็ตามการเล่นกิจจกรรมนี้ยังแฝงข้อดีและประโยชน์เอาไว้โดยที่พ่อแม่ผู้ปกครองยังคาดไม่ถึง ซึ่งข้อดีและประโยชน์จากการชวนเล่นจ๊ะเอ๋ มีอะไรบ้าง และทำไมจึงควรมีกิจกรรมนี้สอดแทรกเข้าไปด้วย มาดูกันเลย

เล่นจ๊ะเอ๋ เสริมพัฒนาการได้อย่างไร? 

  • ช่วยพัฒนาการสื่อสาร การที่เด็ก ๆ หัวเราะออกมา ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นสื่อสารขั้นพื้นฐาน เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ว่าการหัวเราะจะทำให้คนเข้าหา หรือการร้องไห้ทำให้คนถอยออกไป เป็นต้น

  • ฝึกทักษะการสังเกต เด็ก ๆ จะเรียนรู้ว่าการขยับปากของพ่อแม่ทำให้มีเสียงออกมา เด็ก ๆ จะค่อย ๆ เลียนแบบเริ่มขยับปากตามเสียงในระหว่างการเล่นนั่นเอง รวมถึงเด็ก ๆ จะได้ฝึกสังเกตสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวันอีกด้วย

  • ช่วยเรียนรู้การคงอยู่ของสิ่งต่าง ๆ การเล่นลักษณะนี้เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ถึงการมีอยู่จริงของวัตถุ เด็ก ๆ จะเข้าใจว่าของชิ้นหนึ่งหายไปแล้ว และโผล่กลับมาใหม่ได้ เช่นเอาผ้าคลุมของเล่น เค้าก็จะพลิกหาของเล่นเพื่อกลับมาเล่นต่อนั่นเอง

  • ฝึกการจดจำ ด้วยวัยแรกเกิด สายตายังอยู่ในช่วงเริ่มพัฒนาการ การที่เล่นจ๊ะเอ๋ในระยะใกล้ จะช่วยให้เด็ก ๆ จดจำใบหน้า ตา หู จมูก ปาก และสร้างความคุ้นเคยได้ รวมถึงเรียนรู้จดจำได้ว่าพ่อแม่จะโผล่มาจ๊ะเอ๋ตรงมุมไหน เป้นต้น

  • ทำให้รู้จักการรอคอย และอดทน เด็ก ๆ จะค่อย ๆ เรียนรู้ว่าเมื่อเล่นจ๊ะเอ๋ พ่อแม่จะหายไปไม่นานและจะกลับมาเหมือนเดิม ทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การรอคอยได้ด้วย

สร้างสายใยให้ครอบครัว การเล่นจ๊ะเอ๋ จะเป็นการเพิ่มความใกล้ชิดให้กับครอบครัวได้ เพราะเกิดจากความคุ้นเคย และไว้ใจของเด็กที่ปฏิสัมพันธ์และดูแลอยู่ตลอด ทำให้เด็กเรียนรู้ว่านี่คือพ่อแม่และคนใกล้ชิด ซึ่งเป็นการเติมสายใยของครอบครัวได้นั่นเอง

เล่นจ๊ะเอ๋-เสริมพัฒนาการลูก

เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นตอนไหนดี? 


การเล่นจ๊ะเอ๋ สามารถเริ่มเล่นได้ตั้งแต่ 6-8 เดือน ขึ้นไปจนถึง 2 ขวบ เนื่องจากช่วงวัยที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์เอาไว้ว่าเด็ก ๆ จะเริ่มจดจำใบหน้าได้นั้นไม่แน่นอน บ้างยืนยันว่าเด็กสามารถจดจำได้ตั้งแต่แรกเกิด บ้างยืนยันว่าจดจำได้ตั้งแต่ช่วง 1-3 เดือน แต่ในช่วงวัย 6-8 เดือนจนถึง 2 ขวบ เด็ก ๆ จะเรียนรู้และเข้าใจการมีอยู่ของวัตถุหรือเรียกว่า Object Permanence แล้ว อย่างไรก็ตามก็สามารถเล่นได้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน ได้เช่นกัน


นอกจากนี้แล้วยังมีเคล็ดลับที่ชวนเล่นจ๊ะเอ๋ให้สนุกและเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก ๆ ได้ประโยชน์มากขึ้นมาแนะนำให้ได้ลองเอาไปเล่นดู ก็ช่วยเพิ่มความสนุกขึ้นกว่าเดิมได้ด้วย

เล่นจ๊ะเอ๋ยังไงให้สนุกกว่าเดิม?


หากเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ก็มีเคล็ดลับดังนี้

  • เลือกเล่น เมื่อเด็กพร้อม ไม่ว่าจะหลังกินนม หลังอาบน้ำ ก่อนนอน ก็เลือกเวลาเล่นได้ตามความเหมาะสม ที่สำคัญให้เลือกเล่นตอนที่เด็ก ๆ กำลังสบายตัว ท้องอิ่ม ไม่งอแง หรือกำลังร้อนนั่นเอง

  • เล่นด้วยความสนุก ให้เริ่มตั้งแต่สบตา มองหน้า เพื่อให้เด็กจำได้ อาจจะเพิ่มการแลบลิ้น ทำเสียงตลก ทำท่าทางแปลก ๆ เพื่อเพิ่มความสนใจ รวมถึงการใช้เสียงที่ไม่ดังและน่ากลัวเกินไป

  • เล่นจ๊ะเอ๋ ซ้ำ ๆ เพราะเด็กในวัยแรกเกิดบางคนอาจจะยังไม่พร้อมในการเล่น การเล่นซ้ำ ๆ จะช่วยให้เด็กเข้าใจว่าใบหน้าแม่อยู่แค่หลังฝ่ามือ ไมไ่ด้หายไปไหน และเด็กเริ่มจะเรียนรู้เรื่อง Object Permanence เป็นต้น

หากเด็กมีอายุมากกว่า 6 เดือน ก็มีเคล็ดลับดังนี้

  • เล่นช้า ๆ ฝึกการรอคอย ค่อย ๆ เล่นจ๊ะเอ๋ ช้า ๆ เพื่อให้ลูกได้ฝึกการรอคอย เมื่อเล่นจ๊ะเอ๋ แล้วลูกรอได้ ไม่รีบเปิดมือออก ก่อนจะพูดคำว่า ‘เอ๋’ ก็แสดงว่าลูกได้เรียนรู้การรอคอยได้แล้วนั่นเอง

  • เสริมภาษาระหว่างการเล่น ไม่ว่าจะบอกชื่อสั้น ๆ ว่า ‘แม่’ หรือ ‘พ่อ’ การสอดแทรกคำศัพท์ไประหว่างการเล่น ก็ช่วยเสริมความสนุกและการเรียนรู้ได้มากขึ้น

  • เล่นซ่อนของเพิ่มความสนุก นอกจากเล่นจ๊ะเอ๋แบบทั่วไปแล้ว ก็สามารถเพิ่มความสนุกและท้าทายโดยการ ใช้ผ้าซ่อนของเล่นแล้วให้ลูกหา ก็เล่นสนุกขึ้นมาได้แล้ว

นอกจากการเล่นของเล่นที่ช่วยเสริมพัฒนาการแล้ว การที่ได้เล่นกิจกรรม อย่างการเล่น ‘จ๊ะเอ๋’ ก็ช่วยเสริมพัฒนาการในหลาย ๆ ส่วนได้อย่างดี นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์และสามารถเล่นได้ง่าย ๆ อย่างเป่า ยิ้งฉุบ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ก็ช่วยเสริมพัฒนาการได้ด้วย


แต่สิ่งสำคัญที่สุดไม่ว่าจะชวนเด็ก ๆ เล่นกิจกรรมไหน การที่ครอบครัวได้ให้เวลา การเล่นอย่างเต็มที่ เล่นด้วยความใส่ใจ เล่นด้วยความสนุก และให้เด็กเป็น ศูนย์กลางในการเล่น ก็จะช่วยสร้างโมเมนต์และความอยากเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี เพิ่มช่วงเวลาการเล่นที่มีคุณภาพให้กับเด็ก ๆ ได้อย่างเหมาะสม ถึงแม้จะใช้เวลาเพียง 5-10 นาที ก็สามารถสร้างช่วงเวลา เพิ่มสายใยรักให้กับครอบครัว และที่สำคัญเด็ก ๆ จะสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น ที่ครอบครัวมอบให้อีกด้วย

blog counter

แสดงความคิดเห็น

*ช่องที่ต้องกรอก

โปรดทราบ: ความเห็นจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะถูกเผยแพร่