การเล่นกับลูกน้อย: เส้นทางสร้างสรรค์สู่การพัฒนาและการสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัว
การเล่นกับลูกน้อย: เส้นทางสร้างสรรค์สู่การพัฒนาและการสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัว
- เป็นที่รู้กันดีว่า พ่อแม่คือเพื่อนคนแรกของลูก หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นของเล่นชิ้นแรกในชีวิตของลูกเลย แปลนทอยส์เชื่อว่าเด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้ผ่านการเล่น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่สุดตามวัยของพวกเขา เพียงพ่อแม่ให้เวลาและความเอาใจใส่ ก็จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยได้อย่างดีเยี่ยม วันนี้ แปลนทอยส์อยากแชร์ประโยชน์ของการเล่นกับลูก สิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อพวกเขา และไอเดียกิจกรรมการเล่นสนุกๆ
กรมอนามัย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ประเทศไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ใช้แนวทาง 3F ที่ประกอบไปด้วย ‘Family-Free-Fun’ เพื่อเป็นแนวทางการทำกิจกรรมสำหรับทุกคนในครอบครัว
- Family: การเล่นร่วมกับครอบครัว เพื่อน พ่อแม่ หรือพี่เลี้ยง ที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กสนุกกับการเล่น
- Free: ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระตามที่ต้องการ โดยคำนึงถึงความปลอดภัย อาจจัดหาพื้นที่เล่น เช่น สนามเด็กเล่น ลานบ้าน หรือมุมเล่น ทั้งในบ้าน โรงเรียน หรือชุมชน
- Fun: การเล่นที่สนุกสนาน มีความหลากหลาย เหมาะสมตามวัย และใกล้ชิดธรรมชาติ
ประโยชน์ของการเล่นกับลูก
ใกล้กันกว่าที่เคย: การใช้เวลาร่วมกันช่วยสร้างความใกล้ชิดและความทรงจำดีๆ ในครอบครัว ผู้ใหญ่ยังสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กได้ เนื่องจากเด็กมักจะเลียนแบบพฤติกรรมจากคนรอบข้าง
แม่จ๋า…หนูทำได้: ใช้เวลานี้ปลูกฝังทักษะต่างๆ ผ่านการเล่น เช่น แข่งกันทำความสะอาดเล็กๆ น้อยๆ ช่วยกันเก็บของเล่นหลังเล่นเสร็จ หรือให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการล้างผักตอนทำอาหาร รวมถึงช่วยกันแต่งตัว ทั้งหมดนี้ช่วยให้เด็กๆ สนุกไปกับการดูแลตัวเองและรับผิดชอบกิจวัตรประจำวัน
- คลังศัพท์แน่น สื่อสารได้: เด็กสามารถเรียนรู้คำศัพท์ ประโยค วิธีการสื่อสาร การแสดงออกทางอารมณ์ และการแสดงความต้องการของตัวเอง พวกเขายังเรียนรู้การฟัง การทำตามคำสั่ง และการขอโทษจากการเล่น ดังนั้นพ่อแม่ควรระวังการแสดงออกของตัวเองเป็นพิเศษ
- พัฒนาการครบรอบด้าน: การเล่นช่วยกระตุ้นสมอง ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ พัฒนากล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้แข็งแรงและทำงานได้ดีขึ้น
- รอก่อนนะ…จอจ๋า: การเล่นช่วยลดเวลาการใช้หน้าจอ เนื่องจากการใช้จออย่างเหมาะสมจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยมากกว่า ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำแนะนำดังนี้:
- เด็กต่ำกว่า 1 ขวบ: ไม่ควรใช้จอเลย ในแต่ละวันควรให้เด็กขยับร่างกายหลายครั้ง โดยเฉพาะการเล่นบนพื้น สำหรับเด็กที่ยังขยับได้ไม่มาก ควรให้มีช่วง Tummy time อย่างน้อย 30 นาที และไม่ควรอยู่นิ่งๆ ในรถเข็นหรือเก้าอี้ทานข้าวนานเกิน 1 ชั่วโมง ควรเน้นการอ่านนิทานให้เด็กฟัง.
- เด็ก 1-2 ขวบ: เด็กอายุ 1 ขวบ ไม่ควรใช้จอเลย ส่วนเด็กอายุ 2 ขวบ ไม่ควรใช้จอเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน ควรมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน รวมถึงกิจกรรมที่มีความเข้มข้นปานกลางถึงสูง และไม่ควรอยู่นิ่งๆ นานเกิน 1 ชั่วโมง
- เด็ก 3-4 ขวบ: ไม่ควรใช้จอเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่อยู่นิ่ง ควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างการอ่านนิทาน และมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน โดย 60 นาทีควรเป็นกิจกรรมที่มีความเข้มข้นปานกลางถึงสูง ไม่ควรอยู่นิ่งๆ นานเกิน 1 ชั่วโมง
แนะนำกิจกรรมกับลูก
- สวมบทบาทสมมติ: สลับกันสวมบทบาทสมมติกับลูก ช่วยให้พวกเขาได้ใช้ความคิดและจินตนาการอย่างเต็มที่ ฝึกความกล้าแสดงออก รวมถึงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
- ของเล่นแนะนำ: Doctor Set, Makeup Set, Fire Fighter Play Set
- ตัวละครมีชีวิต: แม้เด็กยังอ่านหนังสือไม่ได้ แต่ก็สามารถฟังได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เด็กมีส่วนร่วมในการอ่านนิทานได้ โดยใช้ตุ๊กตาเป็นตัวเดินเรื่อง ให้เด็กๆ ทำท่าประกอบเมื่อฟังนิทาน
- ของเล่นแนะนำ: Farm Animals Set, Country Blocks
- วิทยาศาสตร์สนุกๆ ในน้ำ: ช่วงนี้เด็กๆ ยังต้องให้พ่อแม่ช่วยอาบน้ำ เราสามารถเพิ่มความสนุกเข้าไปในช่วงเวลาอาบน้ำได้ โดยสอนให้พวกเขาเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องต้น เช่น การจม ลอย และการเทน้ำ
- ของเล่นแนะนำ: Sea Life Bath Set, Sailing Boat
- เบบี๋ก็ชอบเล่น: เด็กในวัยนี้ยังต้องการความสนใจจากพ่อแม่มาก การชวนพูดคุย มี Tummy Time ด้วยกัน หรือเล่นจักจี้เบาๆ กระตุ้นความสนใจด้วยของเล่นที่มีเสียงและสีสัน ช่วยให้เด็กๆ สนใจและพัฒนาการทางอารมณ์ดีขึ้น
- ของเล่นแนะนำ: Baby Key Rattle, Beads Rattle
- เล่นคนเดียวก็เพลิน เล่นหลายคนยิ่งสนุก: การเล่นเกมที่ถึงแม้จะเล่นคนเดียวได้ แต่ถ้าพ่อแม่มีส่วนร่วมด้วย จะช่วยฝึกทักษะให้เด็กได้มากกว่า เช่น รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รู้จักการรอคอย และการแบ่งปัน
- ของเล่นแนะนำ: Meadow Ring Toss, Bowling Set
- เรียนรู้ผ่านการเล่น: ชวนเด็กๆ เสริมสร้างทักษะทางภาษา เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับผลไม้ หรือสัตว์ หรือการแบ่งประเภทสี การจัดกลุ่มตามขนาด
- ของเล่นแนะนำ: Sort & Count Cups, Animals Memo
การเล่นกับลูกไม่ใช่แค่เพื่อความสนุกสนานเท่านั้น แต่ยังเป็นการวางรากฐานสำคัญสำหรับพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็ก รวมทั้งช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในครอบครัว หากสนใจเลือกซื้อของเล่นเพื่อใช้ในการเล่นกับลูก สามารถเลือกชมและซื้อได้ที่นี่เลย https://th.plantoys.com/collections/all
ที่มา:
https://www.thaihealth.or.th/แนะหลัก-3f-family-free-fun-สร้างเด็กไ/